วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

Progrom math basic




นี่คือโปรแกรมเลขคณิตคิดเร็ว  ถ้าใครเก่งจริงก็เข้ามาเลย

My First Program

โปรแกรมนี้เราตั้งใจทำมาก  เพื่อผลงานที่ออกมาอย่างดี  เรารู้สึกภูมิใจมาก
คลิกเลย

Progarm math basic_M5.1_G.11



โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมแรกของเรา  ซึ่งพวกเราทำงานกันเป็นกลุ่ม พวกเราภูมิใจมาก



คลื่นเสียง

                                                              คลื่นเสียง
         เมื่อวัตถุเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่มากระทบกันจะทำให้เกิดมีเสียงเกิดขึ้น การกระทบกันเป็นจังหวะสม่ำเสมอก็จะทำให้เกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้น ซึ่งต่อไปนี้จะเป็นการอธิบายของการเกิดคลื่นเสียง ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
คลื่นเสียง
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุเราสามารถทำให้วัตถุสั่นด้วยวิธีการดีดสีตีและเป่า เมื่อแผล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่นจะทำให้โมเลกุลอากาศสั่นตามไปด้วยความถี่เท่ากับการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงเกิดเป็นช่วงอัดช่วงยายของโมเลกุลของอากาศซึ่งพลังงานของการสั่นจะแผ่ออกไปรอบๆแหล่งกำเนิดเสียงตรงกลางส่วนอัดและตรงกลางส่วนขยายโมเลกุลอากาศจะไม่มีการเคลื่อนที่(การกระจัดเป็นศูนย์) แต่ตรงกลางส่วนอัดความดันอากาศจะมากและตรงกลางส่วนขยายความดันอากาศจะน้อยมาก ดังนั้นคลื่นเสียงจึงเป็นคลื่นตามยาวเพราะโมเลกุลของอากาศจะสั่นในทิศเดียวกับทิศที่เสียงเคลื่อนที่ไป ความดังของเสียงจะขึ้นอยู่กับช่วงกว้างของการสั่น(แอมปลิจูด)ถ้าแอมปลิจูดมากเสียงจะดังมาก การเปลี่ยนความดันอากาศนี้สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจนถึงหูของผู้ฟังทำให้ได้ยินเสียง
การเกิดคลื่นเสียงจากการสั่นของสายกีต้าเพียง1ทิศทาง
รูปแสดงการเกิดคลื่นเสียงจากการสั่นของสายกีต้าเพียง1ทิศทาง
สมบัติของคลื่นมีอะไรบ้าง
ตอบการสะท้อนของคลื่นมี 2 ลักษณะคือ

1.การสะท้อนที่ปลายปิดหรือสะท้อนที่บนผิวของตัวกลางที่มีค่าดัชนีหักเหมากกว่าผลของการสะท้อนของคลื่น ปรากฏว่า คลื่นที่สะท้อนจะมีเฟสเปลี่ยนไปจากคลื่นเดิม คล้ายกับมีเฟสตรงข้ามวิ่งสวนทางออกมา
2.การสะท้อนที่ปลายเปิด หรือสะท้อนที่ผิวตัวกลางมีค่าน้อยกว่าผลการสะท้อนของคลื่นคลื่นสะท้อนจะมีเฟสเหมือนคลื่นเดิมเหมือนกับว่ามีคลื่นที่มีเฟสเหมือนเดิมวิ่งสวนกันออกมา
การหักเห
การหักเห คือ การที่คลื่นเปลี่ยนทิศทาง การเคลื่อนที่เมื่อคลื่นที่จากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง
สาเหตุของการหักเห
เนื่องจาก ความเร็วของคลื่นมีตัวกลางทั้งสองไม่เท่ากันและทิศทางในการเคลื่อนที่ของคลื่นตกกระทบไม่ตั้งฉากกับแนวรอยต่อของตัวกลาง เมื่อคลื่นหักเหระหว่างผิวรอยต่อของตัวกลางคู่ใด ปริมาณที่เปลี่ยนแปลงคือ ความเร็ว ความยาวคลื่น ส่วนความถี่จะมีค่าคงที่
การเลี้ยวเบนของคลื่น
เมื่อคลื่นเคลื่อนที่ไปกระทบขอบหรือส่วนปลายของสิ่งกีดขวาง พบว่า มีคลื่นแผ่ออกจากขอบหรือมุมสิ่งกีดขวางอ้อมไปด้านหลังเป็นหน้าโค้งการที่คลื่นเคลื่อนที่เสมือนเลี้ยวเบนผ่นสิ่งกีดขวางได้ เรียกว่า การเลี้ยวเบนของคลื่น

1.เมื่อคลื่นหน้าตรงหรือคลื่นวงกลม ผ่านช่องแคบที่มีความกว้างน้อยกว่าหรือเท่ากับ ความยาวคลื่นจะมีคลื่นแผ่ออกจากช่องแคบ มีหน้าคลื่นเป็นรูปวงกลม
2.เมื่อคลื่นผ่านช่องแคบมากกว่าความยาวคลื่น คลื่นที่ผ่านออกจะมีหน้าคลื่นตรง ณ บริเวณส่วนกลางแต่ตรงขอบทั้งสองข้าง จะมีหน้าคลื่นโค้งเบนไปด้านหลังสิ่งกีดขวาง
3.คลื่นที่มีความถี่ต่ำจะมีการเลี้ยวเบนที่ขอบสิ่งกีดขวางได้มากกว่าคลื่นที่มีความถี่สูง
4.เมื่อคลื่นผ่านช่องแคบที่โตกว่าความยาวคลื่น คลื่นที่ผ่านไปด้านหลัง จะเกิดแนวบัพขึ้นส่วนช่องที่เล็กกว่าความยาวคลื่นจะไม่เกิดแนวบัพ
การแทรกสอดของคลื่น
ปรากฏการณ์การรวมตัวของคลื่นที่พบกัน ณ ตำแหน่งใดๆตำแหน่งใดที่คลื่นแทรกสอดแบบเสริมกัน ผลต่างของระยะห่างจากแหล่งกำเนิดทั้งสองถึงตำแหน่งนั้นจะมีค่าเป็นจำนวนเดิมเท่ากับความยาวคลื่นตำแหน่งใดที่คลื่นแทรกสอดกันแบบหักล้างกัน ผลต่างของระยะจากแหล่งกำเนิดทั้งสองถึงตำแหน่งนั้น จะมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น หรือจำนวนเต็มเท่าบวกด้วย ครึ่งหนึ่งของความยาวคลื่น
คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง

คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง

คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง

คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง

คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง

คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง
คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง ช่วยเลิกบุหรี่ และทำให้หลับลึก เพิ่มสมาธิ
คลื่นเสียงกระตุ้นสมอง จิตใต้สำนึก Brain Sync เลิกบุหรี่ Stop Smoking http://www.brainsync.com/product.asp?specific=145 ใช้ฟังทุกวัน 6วันต่อสัปดาห์ ไฟล์ mp3 มี 2 แทร็ก ฟังด้วยเครื่องเสียงทั้ง 2 แทร็กขณะทำอะไรก็ได้ แม้ไม่ตั้งใจฟังแต่จิตใต้สำนึกจะรับทราบได้ และเมื่อสะดวกปราศจากสิ่งรบกวนอื่นให้ฟังแทร็กที่ 2 ผ่านหูฟัง เช่นยามพักผ่อนหรือเวลานอนจนหลับไป (ควรนอนราบและผ่อนหายใจเข้าออกลึกๆ) คลื่น Theta จะถูกซึมซับโดยสมองเข้าสู่จิตใต้สำนึก หลับลึก Deep Sleep http://www.brainsync.com/product.asp?specific=142 สำหรับคนนอนหลับยาก หรือคนปกติที่ต้องการนอนหลับสบาย นอนเพียง 3-4 ชั่วโมงเหมือนได้หลับมาทั้งคืน เพิ่มสมาธิ ลองดูใช้ได้ผลจริงๆ !!! ไฟล์ mp3 มี 1 แทร็ก ฟังผ่านหูฟังเวลานอนจนหลับไป (ควรนอนราบและผ่อนหายใจเข้าออกลึกๆ) หูฟังแบบ ear-bud จะทำให้นอนฟังสบายที่สุด และควรตั้งเครื่อง mp3 ให้เล่นซ้ำวนไปเรื่อยๆ เพื่อให้คลื่นเสียงทำงานต่อไปแม้หลับไปแล้ว คลื่น Delta จะทำให้ความคิดช้าลงและรับรู้ข่าวสารที่ซ่อนอยู่สู่จิตใต้สำนึก

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554

การตอบสนองของพืช

การตอบสนองของพืช


การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม
   1. การเคลื่อนไหวเนื่องจากการเจริญเติบโต (growth movement)        
       -  การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก (paratonic movement หรือ stimulus movement)
       -  การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายใน (autonomic movement)
   2. การเคลื่อนไหวเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง (turgor movement)
   3. การตอบสนองของพืชต่อสารควบคุมการเจริญเติบโต
การเคลื่อนไหวที่เกิดเนื่องจากการเจริญเติบโต (growth movement) 
   1. การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก (paratonic movement หรือstimulus movement)  มี 2 แบบคือ
      1.1 แบบมีทิศทางเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งเร้า (tropism หรือ tropic movement) การตอบสนองแบบนี้อาจจะทำให้ส่วนของพืชโค้งเข้าหาสิ่งเร้าเรียกว่า positive tropism หรือเคลื่อนที่หนีสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเรียกว่า negative tropism จำแนกได้ตามชนิดของสิ่งเร้าดังนี้
       1.1.1 โฟโททรอปิซึม (phototropism) เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นแสงพบว่าที่ปลายยอดพืช (ลำต้น) มีทิศทางการเจริญเติบโตเจริญเข้าหาแสงสว่าง  (positive phototropism) ส่วนที่ปลายรากจะมีทิศทางการเจริญเติบโตหนีจากแสงสว่าง (negative phototropism)

       1.1.2 จีโอทรอปิซึม (geotropism) เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อแรงโน้มถ่วงของโลกโดยรากพืชจะเจริญเข้าหาแรงโน้มถ่วงของโลก (positive geotropism) เพื่อรับน้ำและแร่ธาตุจากดิน ส่วนปลายยอดพืช (ลำต้น) จะเจริญเติบโตในทิศทางตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงของโลก (negative geotropism) เพื่อชูใบรับแสงสว่าง

       1.1.3 เคมอทรอปิซึม (chemotropism) เป็นการตอบสนองของพืชโดยการเจริญเข้าหาหรือหนีจากสารเคมีบางอย่างที่เป็นสิ่งเร้าเช่นการงอกของหลอดละอองเรณูไปยังรังไข่ของพืชโดยมีสารเคมีบางอย่างเป็นสิ่งเร้า 



       1.1.4 ไฮโดรทรอปิซึม (hydrotropism) เป็นการตอบสนองของพืชที่ตอบสนองต่อความชื้น ซึ่งรากของพืชจะงอกไปสู่ที่มีความชื้น 
 
       1.1.5 ทิกมอทรอปิซึม (thigmotropism) เป็นการตอบสนองของพืชบางชนิดที่ตอบสนองต่อการสัมผัสเช่น การเจริญของมือเกาะ (tendril) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ยื่นออกไปพันหลักหรือเกาะบนต้นไม้อื่นหรือพืชพวกที่ลำต้นแบบเลื้อยจะพันหลักในลักษณะบิดลำต้นไปรอบๆเป็นเกลียว เช่น ต้นตำลึง ต้นพลู ต้นองุ่น ต้นพริกไทย เป็นต้น 


      1.2 แบบมีทิศทางที่ไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (nasty หรือ nastic movement) 
         การตอบสนองแบบนี้จะมีทิศทางคงที่คือ  การเคลื่อนขึ้นหรือลงเท่านั้น  ไม่ขึ้นกับทิศทางของสิ่งเร้า
         การบานของดอกไม้ (epinasty) เกิดจากกลุ่มเซล์ด้านในหรือด้านบนของกลีบดอกยืดตัวหรือขยายขนาดมากกว่ากลุ่มเซลล์ด้านนอกหรือด้านล่าง
         การหุบของดอกไม้ (hyponasty) เกิดจากกลุ่มเซลล์ด้านนอกหรือด้านล่างของกลีบดอกยืดตัวหรือขยายขนาดมากกว่ากลุ่มเซลล์ด้านมนหรือด้านบน ตัวอย่างเช่น
- ดอกบัว ส่วนมากมักหุบในตอนกลางคืนและบานในตอนกลางวัน 
- ดอกกระบองเพชร  ส่วนมากจะบานในตอนกลางคืนและหุบในตอนกลางวัน
  
        การบานของดอกไม้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและสิ่งเร้าเช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง เป็นต้น ถ้าสิ่งเร้าเป็นแสงแล้วทำให้เกิดการตอบสนอง (เกิดการเคลื่อนไหว ด้วยการบานการหุบของดอกไม้) โฟโตนาสที (photonasty) ถ้าอุณหภูมิเป็นสิ่งเร้าก็เรียกว่า เทอร์มอนาสที (thermonasty) ตัวอย่างเช่น ดอกบัวส่วนมากมักหุบในตอนกลางคืนและบานในตอนกลางวันแต่ดอกกระบองเพชรจะบานในตอนกลางคืนและจะหุบในตอนกลางวัน ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากในตอนกลางคืนจะมีอุณหภูมิต่ำหรือเย็นลงทำให้กลุ่มเซลล์ด้านในของกลีบดอกเจริญมากกว่าด้านนอกจึงทำให้กลีบดอกบานออกแต่ตอนกลางวันอากาศอุ่นขึ้นอุณหภูมิสูงขึ้นจะทำให้กลุ่มเซลล์ด้านนอกเจริญยืดตัวมากกว่าดอกจะหุบการบานและการหุบของดอกไม้มีเวลาจำกัด เท่ากับการเจริญของเซลล์ของกลีบดอก เมื่อเซลล์เจริญยืดตัวเต็มที่แล้วจะไม่หุบหรือบานอีกต่อไปกลีบดอกจะโรยและหลุดร่วงจากฐานดอกการบานและการหุบของดอกไม้มีเวลาจำกัด เท่ากับการเจริญของเซลล์ของกลีบดอก  เมื่อเซลล์เจริญยืดตัวเต็มที่แล้วจะไม่หุบหรือบานอีกต่อไป กลีบดอกจะโรยและหลุดร่วงจากฐานดอก



โฟโตนาสที (photonasty)

   2. การตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าภายในของต้นพืชเอง (autonomic movement)
เป็นการตอบสนองที่เกิดจากการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายในจำพวกฮอร์โมนโดยเฉพาะออกซิน ทำให้การเจริญของลำต้นทั้งสองด้านไม่เท่ากัน ได้แก่
      2.1 การเอนหรือแกว่งยอดไปมา (nutation movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดเฉพาะส่วนยอดของพืชสาเหตุเนื่องจากด้านสองด้านของลำต้น (บริเวณยอดพืช) เติบโตไม่เท่ากันทำให้ยอดพืชโยกหรือแกว่งไปมาขณะที่ปลายยอดกำลังเจริญเติบโต               
      2.2 การบิดลำต้นไปรอบๆเป็นเกลียว (spiral movement) เป็นการเคลื่อนไหวที่ปลายยอดค่อยๆบิดเป็นเกลียวขึ้นไป เมื่อเจริญเติบโตขึ้นซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยปกติเราจะมองเห็นส่วนยอดของพืชเจริญเติบโตขึ้นไปตรงๆ แต่แท้จริงแล้วในส่วนที่เจริญขึ้นไปนั้นจะบิดซ้ายขวาเล็กน้อย เนื่องจากลำต้นทั้งสองด้านเจริญเติบโตไม่เท่ากันเช่นเดียวกับนิวเทชัน ซึ่งเรียกว่า circumnutation พืชบางชนิดมีลำต้นอ่อนทอดเลื้อยและพันหลักในลักษณะการบิดลำต้นไปรอบๆเป็นเกลียวเพื่อพยุงลำต้นเรียกว่า twining เช่น การพันหลักของต้นมะลิวัลย์  พริกไทย อัญชัน ตำลึง ฯลฯ


การเคลื่อนไหวที่เกิดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแรงดันเต่ง (turgor movement)
       ปกติพืชจะมีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อการสัมผัส (สิ่งเร้าจากภายนอก) ช้ามากแต่มีพืชบางชนิดที่ตอบสนองได้เร็ว โดยการสัมผัสจะไปทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำภายในเซลล์ทำให้แรงดันเต่ง (turgor pressure) ของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วและไม่ถาวรซึ่งมีหลายแบบคือ 
   1. การหุบของใบจากการสะเทือน (contract movement)
     - การหุบใบของต้นไมยราบตรงบริเวณโคนก้านใบและโคนก้านใบย่อยจะมีกลุ่มเซลล์ชนิดหนึ่ง (เซลล์พาเรงคิมา) เรียกว่า พัลไวนัส (pulvinus) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่และผนังเซลล์บาง มีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเช่น การสัมผัส เมื่อสิ่งเร้ามาสัมผัสหรือกระตุ้นจะมีผลทำให้แรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วคือเซลล์จะสูญเสียน้ำให้กับเซลล์ข้างเคียงทำให้ใบหุบลงทันทีหลังจากนั้นสักครู่น้ำจะซึมผ่านกลับเข้าสู่เซลล์พัลไวนัสอีกแรงดันเต่งในเซลล์เพิ่มขึ้นทำให้แรงดันเต่งและใบกางออก
      - การหุบของใบพืชพวกที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปเพื่อจับแมลงได้แก่ ใบของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้นสาหร่ายข้าวเหนียว ต้นกาบหอยแครง ต้นหยาดน้ำค้าง เป็นต้น พืชพวกนี้ถือได้ว่าเป็นพืชกินแมลงจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของใบเพื่อทำหน้าที่จับแมลง ภายในใบจะมีกลุ่มเซลล์หรือขนเล็กๆ (hair) ที่ไวต่อสิ่งเร้าอยู่ทางด้านในของใบเมื่อแมลงบินมาถูกหรือมาสัมผัสจะเกิดการสูญเสียน้ำ ใบจะเคลื่อนไหวหุบทันทีแล้วจึงปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยโปรตีนของแมลงให้เป็นกรดอะมิโนจากนั้นจึงดูดซึมที่ผิวด้านในนั้นเอง

2. การหุบใบตอนพลบค่ำของพืชตระกูลถั่ว (sleep movement) การทดลองแสดงการควบคุมตาข้างโดยตายอด









การตอบสนองต่อช่วงแสง (Photoperiod) ต่อการออกดอกผ่าน Florigenฮอร์โมนหรือไม่ ? 
 











Phytochromes as Photoreceptors



Phytochrome Regulation of Seed Germination


Defensive Response To Herbivore



 คำถาม
  1. การตอบสนองของพืชต่อสิ่งแวดล้อม มีปัจจัยหลักๆ 3 ประการได้แก่อะไรบ้าง
  2. การตอบสนองจากสิ่งเร้าภายนอก จำเป็นจะต้องมีการเคลื่อนที่เข้าหาสิ่งเร้าตลอด ใช่หรือไม่ หากไม่ จะมีการเคลื่อนที่แบบใดอีก
  3. โฟโททรอปิซึม เป็นการตอบสนองของพืชต่อสิ่งเร้าที่เป็นสิ่งใด ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นที่ใดของพืช
  4. จีโอทรอปิซึม เป็นการตอบสนองของพืชต่อสิ่งใด
  5. เคมอทรอปิซึม เป็นการตอบสนองต่อสิ่งใด จงยกตัวอย่างการตอบสนองดังกล่าวมา 1 ตัวอย่าง
  6. การหุบและการบานของดอกไม้ มีปัจจัยใดบ้าง และจัดเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชแบบใด
  7. การเอนและการบิดลำต้นของพืชบางชนิด มีสาเหตุมาจากอะไร
  8. จงอธิบายการเปิด-ปิดของปากใบว่ามีความเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นจากการ
  9. การเคลื่อนไหวแบบ nutation , spiral movement และ twining movement มีประโยชน์ต่อพืชที่มีการเคลื่อนไหวนี้อย่างไร
  10. การหุบใบของพืชตระกูลถั่ว เป็นการตอบสนองต่อสิ่งใด และเหตุใดจึงต้องหุบใบลงตอนพลบค่ำ

       เป็นการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงของพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบก้ามปู ใบมะขาม ใบไมยราบ ใบถั่ว ใบแค ใบกระถิน ใบผักกระเฉด เป็นต้น โดยที่ใบจะหุบ ก้านใบจะห้อยและลู่ลงในตอนพลบค่ำ เนื่องจากแสงสว่างลดลง ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ต้นไม้นอน” แต่พอรุ่งเช้าใบก็จะกางตามเดิม การตอบสนองเช่นนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลง แรงดันเต่งของกลุ่มเซลล์พัลไวนัสที่โคนก้านใบโดยกลุ่มเซลล์พัลไวนัสนี้เป็นกลุ่มเซลล์ขนาดใหญ่และผนังเซลล์บาง มีความไวสูงต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น เมื่อไม่มีแสงสว่างหรือแสงสว่างลดลงมีผลทำให้เซลล์ด้านหนึ่งสูญเสียน้ำให้กับช่องว่างระหว่างเซลล์ที่อยู่เคียงข้างทำให้แรงดันเต่งลดลงใบจึงหุบลง ก้านใบจะห้อยและลู่ลง  พอรุ่งเช้ามีแสงสว่างน้ำจะเคลื่อนกลับมาทำให้แรงดันเต่งเพิ่มขึ้นและเซลล์เต่งดันให้ที่ลู่นั้นกางออก
   3. การเปิดปิดของปากใบ (guard cell movement)
การเปิด-ปิดของปากใบขึ้นอยู่กับความเต่งของเซลล์คุม (guard cell) ในตอนกลางวันเซลล์คุมมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้น ทำให้ภายในเซลล์คุมมีระดับน้ำตาลสูงขึ้น น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจะซึมผ่านเข้าเซลล์คุม ทำให้เซลล์คุมมีแรงดันเต่งเพิ่มขึ้นดันให้ผนังเซลล์คุมที่แนบชิดติดกันให้เผยออกจึงทำให้ปากใบเปิด     แต่เมื่อระดับน้ำตาลลดลงเนื่องจากไม่มีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงน้ำก็จะซึ่มออกจากเซลล์คุมทำให้แรงดันเต่งในเซลล์คุมลดลงเซลล์จะเหี่ยวและปากใบก็จะปิด
    







   การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชด้วยการเคลื่อนไหวแบบต่างๆที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตของพืชสรุปได้ดังนี้
   1. การหันยอดเข้าหาแสงสว่าง ช่วยให้พืชสังเคราะห์อาหารได้อย่างทั่วถึง 
   2. การหันรากเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก ช่วยให้รากอยู่ในดินซึ่งเป็นแหล่งที่พืชได้รับน้ำและแร่ธาตุ 
   3. การเจริญเข้าหาสารเคมีของละอองเรณู ช่วยในการผสมพันธุ์ การขยายกลีบช่วยในการกระจายหรือรับละอองเกสร
   4. การเคลื่อนไหวแบบ nutation , spiral movement และ twining movement ช่วยให้พืชเกาะพันกับสิ่งอื่นๆสามารถชูกิ่งหรือยอด เพื่อรับแสงแดด หรือชูดอกและผลเพื่อการสืบพันธุ์หรือกระจายพันธุ์ 
   5. การหุบของต้นกาบหอยแครงช่วยในการจับแมลงหรืออาหาร การหุบของไมยราบช่วยในการหลบหลีกศัตรู


กลไกการตอบสนองของพืช 
    โปรดระลึกเสมอว่าไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองต่อปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายในพืช กระบวนการหรือกลไกที่เกิดขึ้นและขั้นตอนที่เกิดการตอบสนองจะมีความซับซ้อนมาก  (Complexity ) เสมอแม้ว่าจะเกิดจากปัจจัยเพียงปัจจัยเดียวในตอนเริ่มต้น

การเจริญเข้าหาแสงสว่าง ( Positive Phototropism ) ของเยื่อหุ้มยอดอ่อนของข้าวโอ๊ต (Oat seedling coleoptile)











การทดลองของ Darwin และ Boysen-Jensen












การทดลองของ F. W. Went ในปี ค.ศ. 1926 หรือ ปี พ.ศ. 2469 เกี่ยวกับการโค้งเข้าหาแสงของเยื่อหุ้มยอดอ่อน (coleoptile) ของต้นกล้าข้าวโอ๊ต

การสังเคราะห์ด้วยแสง

การสังเคราะห์ด้วยแสง
           ก็ได้ทราบกันอยู่แล้วว่าว่าพืชมีหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ  สามารถนำพลังงานแสงมาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์
์และสร้างเป็นอาหารเก็บไว้ในรูปสารอินทรีย์ โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง  นอกจานี้ยังทราบอีกว่าในใบพืช
มีคลอโรฟิลล์  ซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง  และผลผลิตที่ได้คือ  คาร์โบไฮเดรต น้ำ และออกซิเจน
และยังได้ทราบว่าพืชมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการทำงานได้อย่างไร
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ
ปฏิกิริยาแสงและปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ 
โครงสร้างของคลอโรพลาสต์ 

         จากการที่ศึกษาด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตอนและเทคนิคต่างๆ  ทำให้เราทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ
โครงสร้างและหน้าที่ของคลอโรพลาสต์มากขึ้น  คลอโรพลาสต์ส่วนใหญ่ของพืชจะมีรูปร่างกลมรี   มีความยาวประมาณ
5 ไมโครเมตร  กว้าง 2ไมโครเมตร หนา1-2 ไมโครเมตร  ในเซลล์ของแต่ละใบจะมีคลอโรพลาสต์มากน้อย
แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์และชนิดของพืช
  คลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น ภายในมีของเหลวเรียกว่า สโตรมา  มีเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับ
กระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ในการสังเคราะห์ด้วยแสงนอกจากนี้ด้านในของคลอโรพลาสต์
ยังมีเยื่อไทลาคอยด์   ส่วนที่พับทับซ้อนไปมาเรียกว่า กรานุม  และส่วนที่ไม่ทับซ้อนกันอยู่เรียกว่า
สโตรมาลาเมลลา สารสีทั้งหมดและคลอโรฟิลล์จะอยู่บนเยื่อไทลาคอยด์มีช่องเรียก ลูเมน ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน

        นอกจากนี้ภายในคลอโรพลาสต์ยังมี DNA RNA และไรโบโซมอยู่ด้วย  ทำให้คลอโรพลาสต์สามารถ
จำลองตัวเองขึ้นมาใหม่และผลิตเอนไซม์ไว้ใช้ในคลอโรพลาสต์ในคลอโรพลาสต์เองได้คล้ายกับไมโทคอนเดรีย

สารสีในปฏิกิริยาแสง
            เราสามารถพบได้ว่าสาหร่ายสไปโรไจราสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่แสงสีน้ำเงินและแสงสีแดง
            สารสีที่พบในสิ่งมีชีวิตที่สังเคราะห์แสงมีได้หลายชนิด   พืชและสาหร่ายซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทยูคาริโอต
สารสีต่างๆจะอยู่ในคลอโรพลาสต์  แต่ไซยาโนแบคทีเรียและกรีนแบคทีเรียจะพบสารสีต่างๆ  และศูนย์กลาง
ปฏิกิริยาแสงแทรกอยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์ หรือองค์ประกอบอื่นที่เปลี่ยนแปลงมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ 
โดยมีส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ที่ยื่นเข้าไปในไซไทพลาซึมทำหน้าที่แทนเยื่อชั้นในของคลอโรพลาสต์
            สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดที่สังเคราะห์แสงได้  มีสารสีอยู่หลายประเภท ซึ่งเราได้พบว่า  พืชและสาหร่ายสีเขียว
มีคลอโรฟิลล์ 2 ชนิด คือ  คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ บี  นอกจากคลอโรฟิลล์แล้วยังมีแคโรทีนอยด์
และพบว่าสาหร่ายบางชนิดมี ไฟโคบิลิน
            แคโรทีนอยด์เป็นสารประกอบประเภทไขมัน  ซึ่งประกอบไปด้วยสาร 2 ชนิด คือ  แคโรทีน   เป็นสารสีแดง
หรือสีส้ม และแซนโทฟิลล์  เป็นสารสีเหลืองหรือสีน้ำตาล  แคโรทีนอยด์มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  ที่สังเคราะห์
ด้วยแสงได้ในพืชชั้นสูงพบว่าสารสีเหล่าสนี้อยู่ในคลอโรพลาสต์
            ไฟโคบิลิน  มีในสาหร่ายสีแดงและไซยาโนแบคทีเรีย  ซึ่งไฟโคบิลินประกอบด้วยไฟโคอีรีทรินซึ่งดูดแสงสีเหลืองและเขียว  และไฟโคไซยานินที่ดูดแสงสีเหลืองและสีส้ม
            สารเหล่านี้ทำหน้าที่รับพลังงานแสงแล้วส่งต่อให้คลอโรฟิลลล์ เอ ที่เป็นศูนย์กลางปฏิกิริยาของระบบแสงอีกต่อหนึ่ง   กลุ่มสารสีที่ทำหน้าที่รับพลังงานแล้วส่งต่ออีกทีให้คลอโรฟิลล์ เอ  ซึ่งเป็นศูนย์กลางของปฏิกิริยาเรียกว่า
แอนเทนนา
            สิ่งที่น่าสงสัยคือ  มีการส่งต่อพลังงานแสงจากโมเลกลุของสารีต่างๆไปยังคลอโรฟิลล์ เอ ที่เป็นศูนย์กลาง
ของปฏิกิริยาของได้ได้อย่างไร
            อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปรอบๆ นิวเคลียสของอะตอมของสารสีมีอยู่หลายระดับ   อิเล็กตรอนเหล่านี้สามารถ
เปลี่ยนแปลงระดับได้ ถ้าได้รับพลังงานที่เหมาะสม  เมื่อโมเลกุลของสารสีดูดพลังงานจากแสง ทำให้อิเล็กตรอน
เคลื่อนที่อยู่ในสภาพปกติ  ถูกกระตุ้นให้มีพลังงานมากขึ้น  อิเล็กตรอนจะเคลื่อนไปอยู่ที่ระดับนอก
ู่
            อิเล็กตรอนที่ถูกกระตุ้นจะอยู่ในสภาพเร่งเร้า สภาพเช่นนี้ไม่คงตัว    อิเล็กตรอนจะถ่ายทอดพลังงานเร่งเร้า
จากโมเลกุลสารสีหนึ่งไปยังโมเลกุลของสารสีอื่นๆต่อไป
            อิเล็กตรอนเมื่อถ่ายทอดพลังงานไปแล้วก็จะคืนสู่ระดับปกติ  โมเลกุลของคลอโรฟิลล์เอ  ก็จะได้รับพลังงาน
โมเลกุลที่ถ่ายทอดมาจากสารสีต่างๆ  รวมทั้งโมเลกลุของคลอโรฟิลล์ เอ  ก็ได้รับพลังงานแสงเองอีกด้วย 
เมื่อคลอโรฟิลล์ เอ ที่เป็นศูนย์กลางของปฏิกิริยาได้รับพลังงานที่เหมาะสม จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากโมเลกุล 
อิเล็กตรอนที่หลุดออกมานี้จะมีสารรับอิเล็กตรอน  ที่ค้นพบว่า
NADP เป็นสารที่มารับอิเล็กตรอนในภาวะที่ม
ีคลอโรพลาสต์ และกลายเป็น
NADPH 
            ที่เยื่อไทลาคอยด์จะมีกกลุ่มของสารสี เรียกว่าแอนเทนนาแต่ละหน่วยประกอบด้วยสารสีต่างๆ ประมาณ 300
โมเลกุล สารสีอื่นๆ ที่เป็นองค์ประกอบของแอนเทนนาจะได้รับพลังงานแสงแล้วถ่ายทอดไปตาลำดับคลอโรฟิลล์ เอ
ที่เป็นศูนย์กลางของปฏิกิริยา
            ระบบแสง ประกอบด้วยโปรตีนตัวรับอิเล็กตรอน ตัวถ่ายทอดอิเล็กตรอน และแอนเทนนา ระบบแสงI หรือPSI เป็นระบบแสงที่มีคลอโรฟิลล์ เอ ซึ่งเป็นศูนย์กลางปฏิกิริยารับ พลังงานแสงได้ดีที่สุดที่ความยาวคลื่น 700
นาโนเมตร  จึงเรียกว่า
P700 และรับบแสงII หรือ PS II ซึ่งมีคลอโรฟิลล์ เอ ที่เป็นศูนย์กลางปฏิกิริยารับพลังงานแสง
ได้ดีที่สุดที่ความยาวคลื่น 680 นาโนเมตร เรียกปฏิกิริยาแสงนี้ว่า
P680
ปฏิกิริยาแสง
    พืชดูดกลืนแสงไว้ในคลอโรพลาสต์ ในขั้นตอนที่เรียกว่า  ปฏิกิริยาแสงให้เป็นพลังงานเคม
ีที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ในรูป
ATP และ NADPH 
            บนเยื่อไทลาคอยด์จะมีระบบแสง I ระบบแสง II และโปรตีนทำหน้าที่รับและถ่ายทอดอิเล็กตรอนอยู่
ซึ่งจำลองการจัดเรียงตัว
            พลังงานแสงที่สารต่างๆ ดูดกลืนไว้จะทำให้อิเล็กตรอนของสารสีมีระดับพลังงานสูงขึ้น  และสามารถ่ายทอด
ไปได้หลายรูปแบบ  สารสีในแอนเทนนาจะมีการท่ายทอดพลังงานที่ดูดกลืนไว้ จากสารสีโมเลกุลหนึ่งไปยังสารสี
ีอีกโมเลกุล
หนึ่ง จนกระทั่งโมเลกุลของคลอดรฟิลล์ เอ  ที่เป็นศูนย์กลางของระบบปฏิกิริยาแสง พลังงานดังกล่าว
จะกระตุ้นให้อิเล็กตรอนของคลอโรฟิลล์ เอ มีพลังงานสูงขึ้น  และถ่ายทอดอิเล็กตรอนไปยังตัวรับอิเล็กตรอน
เป็นการเปลี่ยนปลังงานสงให้มาอยู่ในรูปของพลังงานเคมี  นอกจากนี้พลังที่ถูกดูดกลืนไว้อาจเปลี่ยนมาอยู่ในรูป
ของพลังงานความร้อน  การถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดได้ 2 ลักษณะ  คือการถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร
และการถ่ายทออิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร
       
ถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบไม่เป็นวัฏจักร

 


          พลังงานสงที่สสารสีรับไว้ถูกส่งผ่านไปยังปฏิกิริยาของระบบแสง และทำให้โมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เอ
ที่ระบบแสง
I และระบบแสง II   ถูกระตุ้นจึงปล่อยอิเล็กตรอนให้กับโมเลกุลของสารที่เป็นตัวรับอิเล็กตรอนต่อไป
อิเล็กตรอนที่หลุดออกไปจากคลอโรฟิลล์ เอ ในระบบแสง
I จะไม่ย้อนกลับสู้ระบบแสงI อีกครั้ง เพราะมีNADPมารับอิเล็กตรอนกลายเป็น NADPH สำหรับคลอดรฟิลล์ เอ ในระบบแสง II สุญเสียอิเล็กตรอนไปมีผลให้สามารถ
ดึงอิเล็กตรอนของน้ำออกมาแทนที่ ซึ่งทำให้โมเลกุลของนำแยกสลายเป็นออกซิเจนและโปรตอน
            อิเล็กตรอนที่ถูกถ่ายทอดในลำดับต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เกิดการสะสมโปรตอนในลูเมนจนเกิด
ความแตกต่างของระดับโปรตอนระหว่างสโตรมากับลูเมน  โปรตอนในลูเมนจะถูกส่งผ่านไปยังสโตรมา
โดยการทำงานของ
ATP ขึ้นในสโตรมา  และมีการปล่อยโปรตอนจากลูเมนสู่สโตรมา 

การถ่ายทอดอิเล็กตรอนแบบเป็นวัฏจักร
         เป็นการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่เกิดขึ้น เมื่อระบบแสงIได้รับพลังงานแสง สารสีในระบบแสง I
จะรับพลังงานแสงถ่ายทอดพลังงานไปยังคลอโรฟิลล์ เอ ที่เป็นศูนย์กลางของปฏิกิริยา ทำให้อิเล็กตรอนของ
คลโรฟิลล์ เอมีพลังงานสูงขึ้นจึงหลุดออกมาซึ่งจะมีตัวรับอิเล็กตรอนแล้วถ่ายทอดออกมายังระบบไซโทโครม
คอมเพล็กซ์  จากนั้นจะส่งผ่านตัวนำอิเล็กตรอนต่างๆ อิเล็กตรอนก็จะกลับมายังคลอโรฟิลล์ ที่เป็นศูนย์กลาง
ของปฏิกิริยา ของระบบแสง
I อีกครั้งหนึ่ง ในการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอนครั้งนี้จะทำให้โปรตอนเคลื่อนย้าย
จากสโตรมาเข้าสู่ลูเมนเป็นผลทำให้เกิดความแตกต่างความเข้มข้นของโปรตอนระหว่างลูเมนกับสโตรมา
และเมื่อสะสมมากขึ้น เป็นแรงผลักดันให้เกิดการสังเคราะห์
ATP โดยไม่มี NADPH และออกซิเจน เกิดขึ้น
ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์

 

     การสังเคราะห์แสงของพืชมีกระบวนการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อสร้างสารประกอบคาร์โบไฮเดรต
            จากการทดลองของคัลวินและคณะสันนิษฐานว่า  น่าจะมีสารประกอบคาร์บอน 2 อะตอม  ซึ่งเมื่อรวมตัว
กับคาร์บอนไดออกไซด์ จะได้
PGA แต่หลังจากการค้นหาไม่ค้นพบสารประกอบที่มีคาร์บอน 2 อะตอม
อยู่เลย  เขาจึงตรวจหาสารประกอบใหม่ที่จะมีมารวมกับ
CO เป็น PGA จากการตรวจสอบพบสารประกอบ
จำพวกน้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม  คือ ไรบูโลสบิสฟิสเฟต  เรียกย่อๆว่า
RuBP เมื่อรวมตัวกับ
คาร์บอนไดออกไซด์เกิดเป็นสารประกอบตัวใหม่ที่มีคาร์บอน 6 อะตอม  แต่สารนี้ไม่อยู่ตัว
จะสลายกลายเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน 3 อะตอม  คือ
PGA จำนวน 2 โมเลกุล
            นอกจากนี้คัลวินและคณะ ได้พบปฏิกิริยาเหล่านี้ เกิดหลายขั้นตอนต่อเนืองไปเป็นวัฏจักร
ในปัจจุบันเรียกวัฏจักรของปฏิกิริยานี้ว่า  วัฏจักรคัลวิน
            การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์นี้เป็นกระบวนการที่พืชนำพลังงานเคมีที่ได้จากปฏิกิริยาแสงในรูปATP และADPH มาใช้ในการสร้างสารอินทรีย์  คาร์บอนไดออกไซด์จะถูกรีดิวส์เป็นน้ำตาลไตรโอสฟอสเฟต
ในวัฏจักรคัลวิน  วัฏจักรคัลวินเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในสโตรมาของคลอโรพลาสต์ ประกอบ 3 ขั้นตอนใหญ่
คือ คาร์บอกซิเลชัน  รีดักชันและ รีเจเนอเรชัน
            ปฏิกิริยาขั้นที่ 1 คาร์บอกซิเลชัน  เป็นปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์  คาร์บอนไดออกไซด์จะเข้า
สู่วัฏจักรคัลวินโดยการทำปฏิกิริยากับ
RuBP มีเอนไซม์ไรบูโลส บิสฟอสเฟต คร์บอกซิเลส ออกจีเจเนส 
เรียกย่อๆว่า รูบิสโก เป็นคะตะลิสต์  เมื่อ
RuBP ซึ่งเป็นสารที่มีคาร์บอน 5 อะตอม  เข้ารวมกับคาร์ไดออกไซด์
์ได้สารประกอบใหม่ที่มีคาร์บอน 6 อะตอม  เป็นสารที่ไม่คงตัวและจะเปลี่ยนเป็นสารประกอบ ฟอสโฟกลีเซอเรต 
มีคาร์บอน 3 อะตอม จำนวน 2 โมเลกุล  ซึ่งถือได้ว่าเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอนตัวแรกที่คงตัวในวัฏจักรคัลวิน
            ปฏิกิริยาขั้นที่ 2 รีดักชัน ในขั้นตอนนี้แต่ละโมเลกุลของ PGA จะรับหมู่ฟอสเฟตจาก ATP กลายเป็น 1,3 บิสฟอสโฟกลีเซอเรต ซึ่งรับอิเล็กตรอนจาก NADPH และถูกเปลี่ยนเป็น กลีเซอรัลดีไฮด์ 3-ฟอสเฟต  เรียกย่อๆว่าG3P หรือ PGAL เป็นน้ำตาลคาร์บอน 3 อะตอม
            ปฏิกิริยาขั้นที่ 3 รีเจเนอเรชัน  เป็นขั้นตอนที่จะสร้าง RuBP ขึ้นมาใหม่ เพื่อกลับไปรับคาร์บอนไดออกไซด์
อีกครั้งหนึ่ง  ในการสร้าง
RuBP ขึ้นมาใหม่  เพื่อกลับไปรับคาร์บอนไดออกไซด์อีกครั้งหนึ่ง ในการสร้าง RuBP
ซึ่งมีคาร์บอน 5 อะตอมซึ่งต้องอาศัย
G3P ซึ่งเป็นสารที่มีคาร์บอน 3 อะตอม จึงเปลี่ยนไปเป็น RuBP และขั้นตอนนี้
ต้องอาศัยพลังงานจาก
ATP จากปฏิกิริยาแสง ส่วน G3P บางโมเลกุลถูกนำไปสร้างกลูโคส และสารประกอบอินทรีย์อื่นๆ
            พืชที่สังเคราะห์ด้วยแสงมีสารประกอบคงตัวชนิดแรกที่ได้จากปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสารที่ม
ีคาร์บอน 3 อะตอม เรียกว่าพืช
C3
         น้ำตาลที่ได้จากวัฏจักรคัลวินถูกนำไปสร้างเป็นน้ำตาลไดแซ็กคาไรด์ เช่น ซูโครส  เพื่อลำเลียงไปสู่ส่วนต่างๆ
ที่พืชต้องการจะใช้ต่อไป  หรืออาจจะถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของเม็ดแป้งในคลอโรพลาสต์หรือนำไปใช้ในกระบวนการ
อื่นๆภายในเซลล์ เช่น กระบวนการสลายอาหาร การสร้างสารอินทรีย์อื่นๆ  เช่น กรดไขมัน กรดอะมิโน
            ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปฏิกิริยาที่ไม่จำเป็นต้องใช้แสงจริงหรือไม่  ในอดีตเรียกว่า
ปฏิกิริยาที่ไม่ใช้แสง เราคิดว่าไม่ต้องใช้แสง  แต่ปัจจุบันพบว่าแสงมีบทบาทที่สำคัญ  ซึ่งการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์
จะเริ่มต้นหลังจากพืชได้รับแสงช่วงหนึ่ง   อัตราการสังเคราะห์แสงจะเร่อมตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น  เนืองจากแสง
กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดที่ใช้ในวัฏจักรคัลวิน  เช่น  เอนไซม์รูบิสโก  นอกจากนี้แสงยังมีอิทธิพล
ต่อการลำเลียงสารประกอบคาร์บอน 3 อะตอม ออกจากคลอโรพลาสต์  และมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนที่ของไอออนต่างๆ
            สรุปโดยย่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ได้แก่ กระบวนการเปลี่ยนพลังงานแสง
ให้เป็นพลังงานแคมีโดยการสร้าง
ATPและNADPH ด้วยปฏิกิริยา จากนั้นจะนำ ATPและ NADPH มาใช้ใน
ปฏิกิริยาการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อสร้างสารประกอบคาร์โบไฮเดรต