วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

แพทย์

แพทย์ คือ ผู้ตรวจค้นโรคและความผิดปกติของร่างกาย จิตใจ สั่งยา ให้การรักษา มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งในด้านการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน รักษาโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ
ศึกษาหลักสูตรแพทย์ศาสตร์บัณฑิต จากคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตามระเบียบการการของทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ สอบคัดเลือกเอง โดยมีรายละเอียดของคุณสมบัติของผู้สมัคร การสอบข้อเขียน การสอบสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย ตรวจสุขภาพจิตที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ

1. เป็นผู้ที่สนและเสียสละต่อเพื่อนมนุษย์ มีมารยาทดี และปรับตัวเข้ากับทุกคนได้
2. มีความสนใจวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ นอกจากนี้ยังต้องสนใจทางด้านประวัติศาสตร์ วรรณคดี จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์
3. มีความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจ ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ อดทน
4. ซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน ไม่ใช้ความรู้ทางวิชาการหลอกลวงผู้อื่น
5. มีจิตใจเป็นนักวิทยาศาสตร์ คิดด้วยเหตุผล
6. ช่างสังเกตและละเอียดถี่ถ้วน แต่ต้องฉับไว เพราะช้าอาจหมายถึงชีวิตของผู้ป่วย
7. ต้องไม่รังเกียจต่อสิ่งปฏิกูล เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ นำมูก นำเหลือง อาเจียน เพราะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปตรวจ

การศึกษาและการฝึกอบรม

โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ

1. รับราการในโรงพยาบาลของรัฐหรือกระทรวงสาธารณสุข
2. ทำงานในโรงพยาบาลเอกชน
3. เปิดคลีนิกส่วนตัวรักษาโรค หรือตั้งโรงพยาบาลเอกชนของตนเอง
4. ทำงานนอกเวลาในโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป หลังจากเลิกงานประจำแล้ว
5. ศึกษาเพิ่มเติมเป็นแพทย์เฉพาะทาง สาขาต่างๆ หรือศึกษาในระดับปริญญาโท-เอก

งานที่หลายคนไฝ่ฝันอาชีพ หมอ หรือแพทย์หรือนายแพทย์
ผมเองก็เคยฝันไว้เหมือนกันแต่ว่าการเรียนต้องขยันแล้วก็มีความรู้
เยอะครับ เก่งหลายด้าน ผมว่ากว่าจะสอบเป็นหมอได้ไม่ง่ายเหมือนกันครับ
ลองมาดูความหมายและความรู้เกี่ยวกับคุณหมอนะครับ
แพทย์ (อังกฤษ: physician, doctor) หรือเรียกเป็นภาษาพูดว่า “หมอ”
ในบางพื้นที่ตามชนบทแพทย์อาจถูกเรียกเป็น “หมอใหญ่” เพื่อเลี่ยง
ความสับสนกับการเรียกพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขต่างๆ
แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้กับผู้ป่วย
ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่นๆ
การเข้าศึกษาแพทยศาสตร์
ปัจจุบันมีหน่วยงานชื่อว่า กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
ทำหน้าที่จัดสอบคัดเลือกและประกาศผลนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่หก
เพื่อเข้ารับการศึกษาในคณะแพทยศาสตร์ต่างๆ ทั่วประเทศ และมีการรับนักเรียน
ตามโครงการต่างๆ อีกหลายโครงการ
การเรียนแพทยศาสตร์
การเรียนแพทยศาสตร์ในประเทศไทยใช้เวลาเรียน 6 ปี ปีแรกเรียนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
เน้นเกี่ยวข้องทางชีววิทยา ปีที่ 2-3 เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ เรียกระยะนี้ว่า
ปรีคลินิก (Preclinic) ปีที่ 4-5 เรียนและฝึกงานผู้ป่วยจริงร่วมกับแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์
เรียกระยะนี้ว่า ชั้นคลินิก (Clinic) และปีสุดท้ายเน้นฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงภายใต้
การดูแลของแพทย์รุ่นพี่และอาจารย์เรียกระยะนี้ว่า เอกซ์เทอร์น (Extern)
แพทย์จบใหม่ในประเทศไทย
เมื่อนักเรียนแพทย์ในประเทศไทยศึกษาจบแพทยศาสตร์บัณฑิต บัณฑิตแพทย์ต้องมีการทำงาน
หรือการชดใช้ทุนของแพทย์เป็นเวลา 3 ปี โดยกำหนดให้ทำงานให้รัฐบาล ซึ่งหากผิดสัญญาต้อง
จ่ายค่าชดเชยให้รัฐตามแต่สัญญาซึ่งทำไว้ตั้งแต่ก่อนเข้ารับการศึกษากำหนด ในปีแรกแพทยสภา
กำหนดให้มีการฝึกปฏิบัติงานเพิ่มเติมในโรงพยาบาลใหญ่ๆ ภายใต้การดูแลของแพทย์รุ่นพี่ที่มี
ประสบการณ์เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งเรียกระยะนี้ว่า อินเทอร์น (Intern)
แพทย์เฉพาะทาง
หลังจากที่บัณฑิตแพทย์สำเร็จการศึกษาออกมาและได้เพิ่มพูนทักษะตามจำนวนปีที่แพทยสภา
(Medical concils of Thailand) เป็นผู้กำหนดแล้ว สามารถสมัครเพื่ออบรมเป็นแพทย์ประจำบ้าน
(Medical Resident) และเมื่อจบหลักสูตรการอบรมและสามารถสอบใบรับรองจากราชวิทยาลัยแพทย์ต่างๆ
ได้แล้ว จึงจะได้เป็นแพทย์เฉพาะทางได้ต่อไป
สาขาของแพทย์เฉพาะทาง
* อายุรแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์
* สูตินรีแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูตินรีเวชวิทยา
* ศัลยแพทย์ (Surgeon) – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์
* จักษุแพทย์ (Opthalmologists) – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุวิทยา
* จิตแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์
* แพทย์โสตศอนาสิก – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสตศอนาสิกวิทยา
* พยาธิแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพยาธิวิทยา
* รังสีแพทย์ – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยา
* วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologists/Anesthetist) – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิสัญญีวิทยา
* กุมารแพทย์ (Pediatrics) – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์
* แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัว (Family Medicine) – แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชปฏิบัติครอบครัว
* แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู
* แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น